วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี
   คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด  มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร  มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ  ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร  บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น  ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด   อ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ
  นมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม    คำอ่านเพิ่มเติม

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

   อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา  แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง  อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย อ่านเพิ่มเติม
 

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐


นิทานเวตาล  เรื่องที่ ๑๐
      เป็นฉบับพระนิพนธ์พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณมีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า  เวตาลปัญจวิงศติ  (Vetala Panchvim shati  แปลว่า  นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล  (ปัญจะ = ๕,  วิงศติ = ๒๐)  ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ  และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือชื่อ  กถาสริตสาคร (Katha - sarita - sagara)  ในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒
       ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. ๑๗๑๙ - ๑๗๔๗  พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรด ฯ ให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่น ๆ อีก  และต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี  เรียกชื่อเรื่องว่า  ไพตาลปัจจีสี  (Baital Pachisi)  รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกแทบทุกภาษา   อ่านเพิ่มเติม
 

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง
   นิราศ  เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณเท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน  นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น  ได้แก่โคลงนิราศหริภุญชัย  ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา  เนื้อหานิราศโดยทั่วไปมักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก  เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม  สำหรับนิราศนรินทร์คำโคลง  มีลักษณะเป็นนิราศแท้คือ  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมาส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่านิราศนรินทร์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะมากเรื่องหนึ่งของไทย  อ่านเพิ่มเติม